
ข้าวแช่ที่มาพร้อมกับหน้าร้อน ประวัติน่าค้นหา
ข้าวแช่ อาหารที่มาพร้อมกับหน้าร้อน หากใครลืมหลงวันหลงฤดูกาลได้เห็นว่าช่วงไหนมีข้าวแช่ออกมาให้รู้ได้เลยว่าหน้าร้อนมาถึงแล้ว สัญลักษณ์ข้าวแช่จึงเป็นสัญลักษณ์ของอาหารที่ช่วยคลายร้อนให้ภายในร่างกายเราเย็นมากขึ้น เนื่องจากตัวหลักที่ยืนพื้นกินกับกับข้าวที่เตรียมเป็นสำรับคือ ข้าวหอมมะลิต้องหุงเป็นเม็ดเรียงตัว พร้อมด้วยน้ำลอยดอกมะลิที่ผ่านการแช่ดอกมะลิให้น้ำมีกลิ่นหอมมาข้ามคืน หรือบางทีอาจนำไปอบควันเทียนร่วมด้วย แล้วค่อยนำมาตักใส่ในข้าวหอมมะลิ และเติมน้ำแข็งก้อน จะไม่ใช่มีการใช้น้ำแข็งบดเพราะต้องการให้ข้าวแช่มีความเย็นแบบอ่อน ๆ ไม่ต้องการให้เย็นจัดเหมือนที่เราน้ำใส่น้ำแข็งเต็มแก้ว จะสังเกตดูได้ว่าคนสูงอายุจะชอบอาหารชุดนี้เป็นพิเศษ เพราะข้าวแช่กินง่ายพร้อมกับข้าวที่กินเป็นคำ ๆ พร้อมกับข้าว แต่ไม่นิยมให้นำกับข้าวใส่ลงไปในถ้วยข้าวแช่เพราะจะทำให้น้ำของข้าวแช่ละลายรสชาติของกับข้าวเสียรสชาติ ที่มาหากเราไม่ได้รู้ต้นกำเนิดของข้าวแช่ เราคงคิดว่าข้าวแช่นี่แหละเป็นอาหารของคนไทยสมัยก่อนเป็นแน่ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ที่จริงข้าวแช่เป็นอาหารของคนมอญและนำเอาข้าวแช่เข้ามาพร้อมกับการมาทำงาน ย้ายถิ่นฐานเดิมเข้ามาอยู่ในไทยนำเอาอาหารนี้เข้ามาด้วย หลัก ๆ คนมอญจะทำข้าวแช่กันในเทศกาลสงกรานต์ หรือช่วงเดือนเมษายน หรือวันที่ 13 เมษายน เพราะจะมีการเตรียมการเตรียมการไปวัดเพื่อทำบุญ และมีทำอาหารเหล่านี้เพื่อเตรียมไปถวายให้วัดพร้อมกับเทพีนางสงกรานต์ อยากให้มีการสืบต่อมาก็มีทำกันมาจนถึงตอนที่มาพักอาศัยในเมืองไทยเลยกลายเป็นวัฒนธรรมอาหารที่ผ่านเข้ามาในเมืองไทย จนเราคิดว่าเป็นอาหารของคนไทยเราเอง เครื่องสำรับของข้าวแช่จะมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกะปิทอด ไชโป้วผัดไข่ พริกหยวกชุบไข่ทอด หมูทอด เนื้อทอด ปลาเค็ม กินคุ่กับข้าวแช่ลอยดอกมะลิ แต่มาสมัยนี้มีการทำที่ง่ายมากขึ้นเพราะอาจไม่มีเวลาที่จะเอาดอกมะลิลอยข้ามคืนเพื่อให้น้ำมีกลิ่นดอกมะลิ มีการใส่กลิ่นดอกมะลิเพื่อเสริมกลิ่นมากขึ้น แต่ยังไงเสน่ห์ของอาหาร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเป็นอาหารประจำชาติเราหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับเป็นอาหารที่เรารักษาเอกลักษณ์ของอาหารไว้ได้ครบถ้วน ไม่มีการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงตัวอาหารมากจนเกินไป ขอบคุณเครดิตภาพจาก: naewna.com […]
Continue Reading