

ในหลายประเทศมีการนำแมลงมาเป็นอาหาร เช่น ในแคว้นอัสสัมของประเทศอินเดียนำนางพญาปลวก ตัวอ่อนของผึ้ง ดักแด้ไหมป่า ตัวอ่อนของด้วงมะพร้าว มารับประทาน ชาวอินเดียนแถบลุ่มแม่น้ำอเมซอนนิยมรับประทานมด ปลวก ตัวอ่อนของด้วงมะพร้าว และเหา ชาวอาราเบียและประเทศในตะวันออกนิยมรับ ประทานตั๊กแตนโดยการทําให้แห้งและบดผสมกับขนมปังปิ้งแล้วจิ้มเนยรับประทานเป็นอาหารว่าง หรือดองเก็บไว้รับประทานนาน ๆ ชาวปาปัวนิวกินีรับประทานมดแดง จิ้งหรีด ใบไม้ ตกแตนกิ่งไม้ เหาคน ด้วงแรด หมัด เป็นต้น
สำหรับการนำแมลงมารับประทานในประเทศไทยนั้นพบมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยแมลงที่นิยมรับประทานกันอาทิ ตัวอ่อนมด ดักแด้ไหม แมลงข้าวสาร แมงดา จิ้งหรีด ตั๊กแตน รวมถึงแมลงเม่า วิธีการเตรียมเพื่อรับประทานจะมีตั้งแต่การคั่ว ป่นผสมน้ำพริก ยํา พล่า ทอดกับไข่ ใส่แกงหน่อไม้ หรือทําห่อหมก สำหรับแมลงเม่าคือปลวกที่มีปีก เป็นปลวกวัยเจริญพันธุ์ที่บินออกนอกรังเพื่อผสมพันธุ์ในต้นฤดูฝน ชาวอีสานนิยมรับประทานแมลงเม่า โดยนํามาคั่วไฟอ่อน ๆ และใส่เกลือเล็กน้อย

– คุณค่าอาหารในแมลงเม่า
จากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารในแมลงเม่าที่ได้มาจากตลาดในอําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นนั้น พบว่า แมลงเม่าประกอบด้วยความชื้น 35.35 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 2.37 เปอร์เซ็นต์ ใยอาหาร 1.24 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 23.72 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 34.87 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรตในรูปของน้ำตาลรีดิวซ์ 0.69 เปอร์เซ็นต์ โซเดี่ยม 0.37 เปอร์เซ็นต์ โปตัสเซี่ยม 0.14 เปอร์เซ็นต์ และแคลเซี่ยม 0.05 เปอร์เซ็นต์ จากผลการวิเคราะห์พบว่าในแมลงเม่ามีปริมาณโซเดี่ยมสูงกว่าโปตัสเซี่ยม ส่วนปริมาณแคลเซี่ยมในแมลงเม่าจะน้อยว่าปริมาณโซเดี่ยมและโปตัสเซี่ยม
แต่เมื่อเปรียบเทียบกับแมลงชนิดอื่น แมลงเม่าจะมีธาตุโซเดี่ยมในปริมาณสูงและธาตุโปตัสเซี่ยมในปริมาณใกล้เคียงกับแมลงชนิดอื่น ๆ แต่ที่น่าสนใจคือ เมื่อเปรียบเทียบกับแมลงชนิดอื่นแล้ว แมลงเม่าจะมีธาตุแคลเซี่ยมสูงกว่าแมลงชนิดอื่นหลายชนิด ซึ่งแคลเซียมจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

– แมงเม่าแหล่งโปรตีน
ในแมลงเม่ามีโปรตีน 28.72 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่หล่งโปรตีนที่ใช้เป็นอาหารในชีวิตประจําวัน ทั่วไปพบว่ามีโปรตีนดังนี้ ถั่วเหลือง 18.0 เปอร์เซ็นต์ เนื้อวัว 17.2 เปอร์เซ็นต์ ไข่ไก่ 12.0 เปอร์เซ็นต์ และเนื้อหมู 11.9 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณโปรตีนในแมลงเม่าเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งโปรตีนอื่นๆ จะมีค่าสูงมาก ดังนั้นแมลงเม่าจัดเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าสูงโดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งโปรตีนจากสัตว์นั้นยอมรับกันว่ามีคุณภาพดีกว่าโปรตีนจากพืช
นอกจากนี้สารอาหารประเภทโปรตีนยังมีบทบาทช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ส่วนปริมาณไขมันในแมลงเม่ามีค่าสูงถึง 34.87 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การสกัดไขมันจากแมลงเม่ามาใช้ในประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการทําเป็นอาหารเช่น การทําสบู่
แมลงเม่านั้นเป็นปลวกที่มีปีก โดยเป็นปลวกวัยเจริญพันธุ์ที่บินออกนอกรังเพื่อผสมพันธุ์ในต้นฤดูฝน ชาวอีสานนิยมรับประทานแมลงเม่า โดยนํามาคั่วไฟอ่อน ๆ และใส่เกลือเล็กน้อย เมื่อนำแมลงเม่ามาวิเคราะห์หาคุณค่าทางอาหารทำให้ทราบว่า แมลงเม่าควรเป็นแหล่งอาหารประเภทโปรตีนและเป็นไขมันแหล่งใหม่ที่น่าสนใจ
เครดิตภาพจาก wikipedia.org
เว็บที่ช่วยนำเสนออาหารสุขภาพ หรือว่า กินอะไรดี แนะนำร้านอาหารอร่อย ๆ ให้ได้ตามไปชิมแบบชิล ๆ ตามสไตล์ รวมถึง รีวิวคาเฟ่ และบาร์-ร้าน Nightlife สุดชิค น่านั่งน่าไปเก็บบรรยากาศ มาฝาก
#กินอะไรดี #เมนูอาหาร #ร้านอาหารอร่อย #Nightlife #รีวิวคาเฟ่ #ร้านอาหาร-คาเฟ่ #ที่กิน-ที่พัก #แนะนำร้านอาหาร #อาหาร-สุขภาพ #savourworld.com #อาหารจากแมลงเม่า